วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

- การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาด มีหน้าที่ในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลากทำหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดทำฉลากสินค้า ที่ควบคุมฉลากให้ใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด มีสาระเกี่ยวกับสินค้า ติดตามสอดส่อง ให้ผู้ประกอบการธุรกิจ แก้ไขฉลากที่ไม่ถูกต้องหรือเลือกใช้ฉลากที่เป็นไม่ไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดพิจารณาให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับฉลากตามที่ผู้ประกอบการร้องขอและรับเรื่องราวที่มีผู้ร้องทุกข์หรือเรื่องที่เกี่ยวกันสิทธิในการคุ้มครองผู้บริโภค
                      - การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้กำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการได้หลักฐานรับเงินได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมนสัญญาได้หลักฐานการรับเงินให้ความเห็นชอบในแบบสัญญาหรือแบบหลักฐานการรับเงินแก่ธุรกิจที่ร้องของ  ระบบการขายตรง  รูปแบบขายตรงด้วยระบบ  จัดทำแบบสัญญาฉบับมาตรฐานขึ้นและได้แจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบแล้ว
                      - การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายมีอำนาจสั่งห้ามขายหรือทำลายสินค้าที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือสั่งห้ามขายสินค้านั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้านั้น

                                 - การดำเนินคดีแทนผู้บริโภคเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคหรือเมื่อได้รับคำร้องจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมและยังสามารถให้การรับรองแก่สามาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือต้องการแข่งขันหรือไม่เป็นธรรมทางการค้ามีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีอาญาหรือดำเนินการกระบวนการ
               
พิจารณาใดๆในคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้และให้มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนสมาชิกของสมาคมได้ถ้าประชาชนผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกเอารัดเอาเปรียบเกี่ยวกับการซื้อสินค้าหรือการใช้บริการ สามารถ ร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1166 หรือจดหมาย ตู้ ปณ.99 กรุงเทพฯ 10320.

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค

 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายด้านสังคมที่กำหนดเพื่อป้องกันผู้บริโภคจากพฤติกรรมที่ฉ้อฉล เกี่ยวพันกับธุรกิจโดยทั่วไป เนื่องจากปัจจุบันนี้ การเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ ต่อประชาชนนับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้ที่ประกอบธุรกิจโฆษณา ได้นำวิชาการในทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคไม่อยู่ในฐานะที่ทราบภาวะตลาด และความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้า และบริการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที นอกจากนั้น ในบางกรณีแม้จะมีกฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยการกำหนดคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการอยู่แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้บริโภคแต่ละรายจะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการป หรือผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ย่อมจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นการไม่คุ้มค่า และผู้บริโภคจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะที่จะสละเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้ และในบางกรณีก็ไม่อาจระงับห รือยับยั้งการกระทำที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้ทันท่วงที  แบ่งออกเป็น 4 หมวด 62 มาตรา
สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครอง 
1. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 
เป็นสิทธิที่จะเน้นในเรื่องการได้รับความสะอาด ความปลอดภัย จากผลิตภัณฑ์และสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยเป็นปัญหาสำคัญของผู้บริโภค จึงมีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสินค้าและบริการองค์การที่จัดตั้งเพื่อป้องกันสิทธิด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคที่สำคัญมี 2 องค์การคือ
1. องค์การคุ้มครองผู้บริโภค
2. องค์การอาหารและยา 
2. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการนั้น ๆ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าที่ผู้บริโภคควรได้รับมีดังนี้ 

2.1.ราคา หมายถึง ราคาต่อหน่วยของสินค้า ซึ่งราคาผู้บริโภคไม่สามารถรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนดีหรือไม่ดี เพราะสินค้านั้น ๆ จะแตกต่างที่การบรรจุหีบห่อ ปริมาณ ขนาดและมีสินค้าบางชนิดไม่ระบุราคา จึงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้ว่าสินค้านั้นดี หรือไม่ และประหยัดที่สุดหรือไม่
2.2. ป้ายโภชนาการ หมายถึง การให้ข่าวสารข้อมูลของสินค้า ว่าเป็นอะไร บริโภคอย่างไร ใช้อย่างไรเพื่อผู้บริโภคจะได้เข้าใจรายละเอียดโดยปิดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ของสินค้านั้น ๆ
2.3. รายละเอียดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หมายถึง รายละเอียดเกี่ยวกับอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วย วัน เดือน ปี ที่ผลิต อายุการใช้งาน และวันหมดอายุของ ผลิตภัณฑ์ โดยจะชี้แจงบนหีบห่อของผลิตภัณฑ์
2.4. ความจริงเกี่ยวกับสินค้าที่ช่วยสนับสนุน หมายถึง สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดได้ชัดเจน เพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้บริโภค ผู้บริโภค จะต้องแยกข้อมูลที่ได้ออกมา และทำความเข้าใจ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
2.5. รายละเอียดของสินค้า ผู้ผลิตมีการกำหนดจำนวนของรายละเอียดของสินค้านั้น ๆ ให้เหมาะสมโดยผู้บริโภคจะใช้รายละเอียดของสินค้านั้น เปรียบเทียบกับสินค้าอื่น ๆ เพื่อจะสามารถเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุด ได้ประโยชน์มากที่สุด
3. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ 
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ควรมีองค์ประกอบดังนี้ 

1. ให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ที่จะใช้ประเมินในตัวสินค้า และบริการที่ต้องใช้เทคโนโลยียุ่งยากซับซ้อน และให้เลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ให้มีทักษะในการบริหารและการตัดสินใจ ในระดับนี้สามารถเทียบกับการศึกษาที่ให้กับมืออาชีพ
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับองค์การธุรกิจต่าง ๆ รัฐบาล และการให้ความรู้ทางด้านการตลาดเพิ่มขึ้น
4. โดยการพิจารณาให้ข่าวสารข้อมูล และความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการ ผู้บริโภคจะนำมาใช้ประเมินให้ตรงกับความต้องการและความถูกต้องเหมาะสมที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ต่อไป
4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดใช้ความเสียหาย 
สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับการพิจารณาและชดใช้ความเสียหาย ทำได้ 3 วิธี คือ 

1. การป้องกัน โดยภาครัฐและเอกชนมีการออกกฎหมายพิทักษ์ผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นกลไกในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่ไปด้วย
2. การเอากลับคืนมา การแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ดีดังเดิม ทำได้หลายวิธี เช่น แก้ไขที่ตัวสินค้า เมื่อเกิดการผิดพลาดภายหลังจากที่สินค้านั้นออกสู่ตลาด โดยการนำเอากลับมาแก้ไข วิธีนี้จะใช้กันมากในการแก้ไขภาพพจน์ของตัวสินค้า
3. การกำหนดบทลงโทษ กำหนดตัวบทกฎหมาย ใช้เป็นบทลงโทษต่อผู้ผลิต โดยจะมีทั้งการปรับ ทั้งจำคุก

ผู้บริโภค หมายถึง !!!

“บริโภค” หมายถึง กิน เสพ ใช้ สิ้น เปลือง ใช้สอย
ดังนั้นคำว่า “บริโภค” จึงมิได้หมายถึง  “กิน” อย่างเดียว แต่มีความหมายรวมถึง การจับจ่าย ใช้สอย การซื้อสินค้าและบริการต่างๆด้วย ตัวอย่างการบริโภคในเรื่องของการบริการ เช่น การรับการรักษาในโรงพยาบาล สถานีอนามัย โดยสารรถ โดยสารเรือ ตัดผม เป็นต้น
“ผู้บริโภค” หมายถึง “คนทุกคน” ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง คนมั่งมีหรือคนจน คนดีหรือคนเลว คนปกติ หรือ คนป่วยไข้ คนทุกอาชีพล้วนเป็นผู้บริโภคทั้งสิ้น นอกจากนี้นิติบุคลเช่น บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็จัดว่าเป็นผู้บริโภค เพราะต้องซื้อสินค้าใช้สินค้า ซื้อบริการและใช้บริการเช่นเดียวกัน 
“สินค้า” หมายถึง สิ่งของที่ผลิต หรือ มีไว้เพื่อจำหน่าย เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยา บ้าน รถยนต์ เป็นต้น
“บริการ” หมายถึง การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใดๆ หรือ การให้ใช้ หรือ ให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน ตัวอย่างเช่น การตรวจรักษาในโรงพยาบาล (บริการทางการแพทย์) แท็กซี่รับจ้าง(บริการทางการขนส่ง) เช่าห้องพักในโรงแรม (บริการที่พัก) ส่งพัสดุไปรษณีย์ (บริการทางการสื่อสาร) เป็นต้น
“การคุ้มครองผู้บริโภค” หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และ ประหยัด  จากการบริโภคสินค้าและบริการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิ
ของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
                  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ
แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ
ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

                  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ
ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

                  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน
เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

                  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

                  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว